โครงการป่าในเมือง “สวนป่าประชารัฐ เพื่อความสุขของคนไทย” โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นั้น เป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชิและสิ่งแวดล้อม ที่ต้องการให้พื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้แก่ พื้นที่วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ และพื้นที่อื่นๆ ที่มีความเหมาะสมอยู่ใกล้ชุมชม ให้ดำเนินโครงการป่าในเมือง “สวนป่าประชารัฐ เพื่อความสุขของคนไทย” ทั้งนี้คำจำกัดความของคำว่า “ป่าในเมือง” ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชนั้น หมายถึง พื้นที่ป่าไม้หรือพื้นที่ปลูกต้นไม้ ที่ตั้งอยู่ในเมืองหรือใกล้เมือง โดยภาครัฐร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน ดำเนินการในลักษณะของพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ ศึกษาธรรมชาติ ภายใต้การพัฒนาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งของแต่ละพื้นที่ เช่น วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ ฯลฯ สำหรับพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการป่าในเมือง “สวนป่าประชารัฐ เพื่อความสุขของคนไทย” มีจำนวนทั้งสิ้น 35 แห่ง
- เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ มีสุขภาพดี - เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มในการปั่นจักรยาน เพื่อออกกำลังกาย และส่งเสริมให้ประชาชนมีเจตคติที่ดี ในการออกกำลังกายและให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้รวมทั้งการอนุรักษ์ป่าไม้ให้ยั่งยืน - เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม และตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย - เพื่อปลูกฝังจิตสำนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแก่ประชาชนทั่วไป
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2499 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศกฎกระทรวงฉบับที่ 9 ( พ.ศ. 2499 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช 2481 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 71 ลงวันที่ 4 กันยายน 2499 ให้ป่าโป่งสลี ท้องที่ตำบลสันทราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจากป่าแห่งนี้มีไม้ชนิดมีค่าเป็นปริมาณมาก เช่น ไม้สัก เหมาะที่จะ สงวน ไว้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน
ต่อมาปี พ.ศ. 2518 ป่าไม้เขตเชียงรายได้พิจารณาเห็นว่าป่าสงวนฯ แห่งนี้เป็นป่าธรรมชาติแห่งเดียวที่มีสภาพป่าสมบูรณ์ มีไม้สักขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นไม้ชนิดดีมีค่าหายากจึงควรอนุรักษ์ไว้ และป่าแห่งนี้อยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงราย การคมนาคมสะดวก น่าจะได้รับการปรับปรุงเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ดังนั้น สำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย จึงขออนุมัติกรมป่าไม้เพื่อจัดตั้งป่าสงวนแห่งชาติป่าโป่งสลีเป็นสวนรุกขชาติ และใช้ชื่อว่า “สวนรุกขชาติโป่งสลี” โดยใช้ที่ทำการป่าไม้แขวงที่ 4 เป็นที่ทำการและมีเจ้าหน้าที่ปรับปรุงดูแลรักษาตลอดมา
สวนรุกขชาติโป่งสลี เป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ แม่ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ในท้องถิ่น มีการปลูกพรรณไม้เสริมพร้อมกับติดป้ายชื่อพรรณไม้ ให้ความรู้ชนิดพรรณไม้แก่ประชาชน เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยพรรณไม้ต่างๆ โดยเน้นความสวยงามตามธรรมชาติ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลของเยาวชนและผู้ที่มีความสนใจในผืนป่า จุดเด่นคือไม้สักและไม้เบญจพรรณอยู่อย่างหนาแน่น
ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าโป่งสลี ท้องที่ตำบลสันทราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ประมาณ 1.07 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่มีอยู่สองข้างของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ล้อมรอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชน โดยมีห้วยแม่กรณ์น้อยโอบล้อมด้านทิศใต้ น้ำแม่ลาวด้านทิศตะวันออก ห่างจากตัวเมืองเชียงราย ประมาณ 10 กิโลเมตร
เสวียน มีมานานนับร้อยปี ซึ่งคนเก่าคนแก่มักใช้ไม้ไผ่มาสานเป็นเสวียนน้อยใหญ่ นำไปใช้ได้หลากหลายประโยชน์ ส่วนเรื่องสานไม้ไผ่ทำกันเป็นแทบทุกคน เพราะไม่ใช่เรื่องยาก ไม้ไผ่ก็สามารถหาได้ตามในไร่ ในนา เวลาว่างจากงานในไร่ในนา ชาวสวนก็จะนั่งสานเสวียน โดยเริ่มจากเหลาไม้ไผ่เป็นเส้นหนาๆ แล้วสานขึ้นลงเป็นตะแกรง ซึ่งความแน่น ความหลวม ก็แล้วแต่เราชอบเลย เมื่อได้เป็นแผ่นสูงสักศอก ก็จะเอาไปขดล้อมรอบต้นไม้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเอาไว้เก็บเศษใบไม้ใบหญ้าที่จะใช้ทำปุ๋ย
จากนั้นก็นำทุกอย่างที่สามารถเป็นปุ๋ยได้มาใส่ หรือกวาดใบไม้ ใบหญ้าตามพื้นทุกเช้ามาเทลงในเสวียน ใบไม้ใบหญ้าจะได้ไม่ฟุ้งกระจาย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษอีกด้วย ส่วนดินทรายที่ปะปนไป ก็จะค่อยๆ ไหลออกมาตามร่องไม้ไผ่สานเมื่อสะสมมากขึ้น หมักไว้นานวันเข้า ก็จะกลายเป็นปุ๋ยชั้นดีของต้นไม้ คนสมัยก่อนเขาทำกันแบบนี้ เขาจะไม่กวาดใบไม้มากองไว้ แล้วเผาทิ้ง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่ทำกันมาอย่างช้านาน แต่แล้วเสวียนก็เหมือนก็เริ่มเลือนลางหายไปตามกาลเวลา น่าจะเริ่มหายไปพร้อมๆ กับการหดหายของพื้นที่ไร่ สวน และการเข้ามาของ การพัฒนาภายใต้ทุนนิยมสมัยใหม่
1. สร้างเสวียนล้อมต้นไม้ไว้ 2. เวลากวาดเศษใบไม้ ใบหญ้า แทนที่จะเอาไปเผาทิ้งก็ให้เอาไปเทใส่ในเสวียนแทน 3. ใช้น้ำหมักชีวภาพรดใส่เศษใบไม้ในเสวียน เพื่อเร่งการย่อยสลาย และเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้แก่เศษใบไม้ใบหญ้า
1. ลดการเผาเศษใบไม้ ช่วยลดโลกร้อน 2. ลดการใช้ปุ๋ยสารเคมีกับพืช 3. ประหยัดเงิน เพราะ ไม้ไผ่ที่นำมาทำเสวียนก็สานเองได้แบบง่ายๆ ไม่ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ย
1. นำเมล็ดชำลงถุงดินโดยตรง วิธีนี้ใช้กับเมล็ดขนาดใหญ่ เช่น ขนุน มะค่าโมง มะค่าแต้ หูกวาง สำโรง ที่ผ่านการปฏิบัติทำให้งอกได้เร็ว เช่น แช่น้ำร้อน การขลิบ ตัดหรือแช่กรดแล้ว หรือเมล็ดที่มีเปอร์เซนต์การงอกดี กล่าวคือ 90% ขึ้นไป รดน้ำให้ชุ่มเสียก่อน จึงกดเมล็ดลงให้จมลงต่ำกว่าผิวดินประมาณ 3-5 มิลลิเมตร วิธีการวางเมล็ดต้องให้เมล็ดสามารถที่จะแทงยอดอ่อนโผ่ลพ้นดินได้ง่าย จึงควรว่างนอนราบ หรือ คว่ำเมล็ดก่อนกดลงดินให้จมดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมล็ดที่มีขนาดใหญ่ เช่น ขนุน มะค่าโมง มะฮอกกานี 2. เพาะในกระบะเพาะก่อนย้ายชำ โดยวิธีหว่านให้กระจายทั้งกระบะเพาะ ระยะห่างระหว่างเมล็ดชึ้นอยู่กับขนาดเมล็ดและชนิดไม้ ไม่ชิดกัน หรือห่างกันมากเกินไป แล้วใช้ไม้กดทับเมล็ดให้จมลงไปในทราย แล้วโรยทรายกลบให้สม่ำเสมอหนาประมาณ 3-5 มิลลิเมตร หรือจะหว่านเป็นแนวโดยเซาะร่องก่อนแล้วโรยลงร่องแล้วกลบ เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม การคลุมกระบะเพาะด้วยพลาสติกโปร่งแสงจะช่วยให้ดินรักษาความชิ้นได้นาน และเพิ่มความชื้นของอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาว จะช่วยให้อุณหภูมิสูงขึ้นเป็นการเร่งการงอกของเม็ดได้อีกด้วย เมล็ดไม้งอกได้ดีในอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียสเมื่อกล้าไม้ตั้งตัวได้จึงเอาพลาสติกที่คลุมออก และเมื่อกล้าไม้ได้ขนาดจึงย้ายชำลงถุงพลาสติกต่อไป
วัสดุเพาะที่เตรียมไว้แล้วนำมากรอกลงถุงพลาสติกซึ่งขนาดที่ใช้เพาะชำทั่วไปคือ 4 x 6 นิ้ว แต่การเพาะชำกล้าไม้บางชนิดที่โตเร็วซึ่งต้องรีบนำไปเพาะปลูกขณะยังเล็ก เช่น ยูคาลิปตัส อายุ 2 เดือนสูง 20 ซม. เหมาะแก่การนำไปปลูกจะใช้ถุงขนาด 3 x 5 นิ้วก็ได้ แต่ถ้าเป็นกล้าค้างปีซึ่งจะมีขนาดสูงและระบบรากก็จะมากด้วยต้องย้ายกล้าไม้ลงถุงขนาดใหญ่ขึ้นเช่น 6 x 10 นิ้ว , 7 x 10 นิ้ว เป็นต้น วิธีการกรอกดิน ใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ตัดลำไม้ไผ่ขนาดใกล้เคียงถุงพลาสติกคล้ายปากฉลามเพื่อใช้ตักดินและ เทใส่ถุงได้สะดวก ถุงพลาสติกควรเจาะรูขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร ตรงกลางก้นถุง 4 - 8 รู และด้านข้างอีก 4 - 8 รู การเจาะถุงพลาสติกมีความสำคัญต่อระบบรากกล้าไม้มาก การที่มีรูที่มีขนาดและจำนวนพอเหมาะที่ก้นถุง จะทำให้รากกล้าไม้มีความปกติ แต่ถ้ามีรูไม่เหมาะสม เช่น จำนวนรูน้อย เกินไปหรือรูอยู่ด้านข้างหมด จะทำให้รากเจริญเติบโตผิดรูป หรือขวนอยู่ก้นถุง
ขนาดของกล้าอ่อนที่เหมาะสมในการย้ายชำของไม้แต่ละชนิดแตกต่างกัน เนื่องเพราะเมล็ดไม้มีขนาดต่างกันและขนาดกล้าต่างกันด้วย สิ่งที่สำคัญที่ใช้ในการพิจารณาคือจะต้องแน่ใจว่าเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีรากอ่อน (Radicle) ลำต้นอ่อน (Hypocotyl) ยอดอ่อน (Plumule) ที่จะพัฒนาเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ได้ กล้าไม้ที่เริ่มงอกโดยเปลือกเมล็ดหลุดออกไปแล้วและเห็นใบเลี้ยง ยอดอ่อนและรากอ่อนสมบูรณ์ดีก็นำไปย้ายชำได้ ไม่ควรย้ายชำหากมียอดอ่อน ต้นอ่อน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งไม่สมบูรณ์ หรือถูกแมลงทำลาย ไม่ควรย้ายชำด้วยต้นกล้าโตจนมีรากยาวเกินไปเพราะรากจะขดเป็นตะขอที่ปลายรากและโคนรากได้ ดังนั้นต้องตัด ขลิบ รากที่ยาวเกินไปหรือการใช้กล้าที่มีรากอ่อนที่ยาวพอดีจะทำให้ระบบรากไม่ผิดรูป การถอนกล้าจากระบบเพาะต้องระวังไม่ให้ ราก ลำ ต้น ใบอ่อน ได้รับความเสียหายด้วยการรดน้ำให้ชุ่มก่อนถอนกล้า นำกล้าอ่อนใส่ภาชนะที่ทีน้ำพอประมาณ ให้กล้าไม้รักษาความสดพร้อมที่จะนำไปชำใส่ถุงและทำให้กล้าไม้ตั้งตัวได้เร็วอีกด้วย ก่อนชำควรรดน้ำดินในถุงให้ชุ่มแล้วใช้ไม้ปลายแหลมขนาดใหญ่กว่ารอกพอประมาณแทงลงดิน ควรลึกกว่าความยาวของรากเล็กน้อยเพื่อไม่ให้โคนและปลายรากขดงอ สอดรากแล้วใช้ไม้จิ้มข้างๆ รากแล้วดันดินให้แนบกันและใช้นิ้วกดดินที่ด้านหนึ่งด้านใดของต้นกล้าเพื่อปิดช่องว่างระหว่างรากกับดินแล้วรดน้ำว้ำอีกครั้ง การชำกล้าไม้ต้องปฏิบัติในเรือนเพาะชำหรือจัดทำที่ครอบกันแดดเป็นเวลา 2 – 3 อาทิตย์แรก หรือจนกว่ากล้าไม้ตั้งตัวได้ประมาณ 7 วัน หลังย้ายชำให้สำรวจกล้าตาย และรีบย้ายชำซ่อมใหม่เพื่อให้กล้าไม้โตทันกันหรือขนาดไกล้เคียงกัน การย้ายชำครั้งที่ 3 ควรแยกออกมาชำข้างนอกเพื่อไม่ให้กล้าไม้มีขนาดต่างกันมาก ถ้าตายควรเทดินออกรวมกองตากผึ่งแดดไว้ใช้คราวต่อไป การใช้ทรายหยาบโรยทับหน้าถุงชำกล้าไม้จะช่วยป้องกันหน้าดินจับตัวแน่นจากการกระกทกของน้ำที่รด ป้องกันการเกิดตะไคร่หน้าดินและซึมผ่านได้ง่าย การย้ายชำกล้าขนาดใหญ่ หรือกล้าค้างแปลงเพาะเป็นเวลานาน กล้าพวกนี้จะมีลำต้นสูงเรียว ใบมาก และรากยาว การย้ายชำควรค่อยๆ ขุดเซาะไม้ให้ลำต้นและรากซ้ำโดยเฉพาะรากแขนง และรากขนอ่อน ตัดปลายรากแก้วที่ยาวเกินไปทิ้งเพื้อให้เหมาะสมกับขนาดถุงและไม่ให้รากเกิดการขดวนที่ปลายราก ผลิดใบออกให้เหลือแต่ใบอ่อนตรงส่วนปลาย เพื่อลดการคายน้ำและตั้งตัวเร็วขึ้น หรือตัดลำต้นบ้างส่วนทิ้งเหลือโคนสูง 1-2 ซม. (เหง้า) ก่อนนำไปย้ายชำ ควรย้ายชำในถุงดินขนาดใหญ่อย่างพอเหมาะ
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเจริญเติบโตของกล้าไม้ เพราะน้ำจะถูกนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของการสังเคราะห์แสงซึ่งจะได้ผลผลิตเป็นอาหาร คือ คาร์โบไฮเดรต สะสมไว้ในต้นกล้า และน้ำเป็นตัวช่วยในการรักษาความสดชื่นและปรับอุณหภูมิของต้นกล้าในขบวนการคายน้ำ ดังนั้น ถ้ามีปริมาณน้ำไม่เหมาะสม คือมากหรือน้อยเกินไปอาจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และมีชีวิตของกล้าไม้ได้ โดยทั่วไปกล้าไม้ที่อยู่ในแปลง เพื่อผลิตเหง้าต้องการน้ำมากกว่ากล้าไม้ที่ชำในถุงพลาสติก เพราะกล้าไม้ในแปลงมีการระเหยของน้ำมากกว่า กล้าไม้ที่มีอายุมากยิ่งต้องการใช้น้ำมากขึ้น อาจต้องทำการรดน้ำทุกวันจนกว่าจะถึงช่วงทำให้กล้าแกร่ง ความต้องการใช้น้ำของกล้าไม้ผันแปรขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น ลักษณะวัสดุชำ ที่ตั้ง รังสีดวงอาทิตย์ กระแสลม ชนิดกล้าไม้ ช่วงอายุของกล้าไม้ การรดน้ำแก่กล้าไม้ควรดำเนินการดังนี้ - ในสัปดาห์แรกของการย้ายชำ ควรรดน้ำทั้งเช้า-เย็น ด้วยฝักบัวฝอยละเอียด เพราะกล้าไม้ขนาดเล็ก ไม่แข็งแรง และรากของกล้าไม้ยังไม่หยั่งลึกลงในวัสดุชำ - หลังจากสัปดาห์แรกควรรดน้ำวันละครั้ง ให้วัสดุชำชุ่มชื้นทั่วทั้งถุง ถ้าหากดินในถุงชำแห้งเร็วอาจเพิ่มการรดน้ำเป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
กล้าไม้ที่เจริญเติบโตในถุงชำ ซึ่งมีการเตรียมวัสดุชำอย่างดี มีธาตุอาหารครบถ้วนและเพียงพอและใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตสั้น การให้ปุ๋ยกับกล้าไม้ก็ไม่จำเป็นเท่าใดนัก เช่นกล้าไม้โตเร็วทั่วไป แต่ในกล้าไม้หลายชนิดที่ต้องใช้ระยะเจริญเติบโตให้ได้ขนาดที่ต้องการนานหลายเดือน บางครั้งต้องเตรียมกล้าข้ามปี เช่น กล้าไม้ในแปลงผลิตเหง้า แปลงเตรียมกล้าแบบเปลือยรากที่ผลิตซ้ำในที่เดิมการให้ปุ๋ยแก่กล้าไม้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เช่นนั้นแล้วกล้าไม้จะแคระแกรน ไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการนอกจากนี้บรรดากล้าไม้ที่มีขนาดเล็กและถูกเบียดบังจากกล้าไม้ยืนต้น ซึ่งจะถูกคัดแยกออกมาจัดเรียงเป็นแปลงต่างหาก ควรให้ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตเพื่อให้มีขนาดตามที่กำหนด ในช่วงแรกปุ๋ยที่ให้ควรมีปริมาณไนโตรเจนสูง เพื่อให้กล้าไม้โตใกล้จะย้ายปลูก ควรลดปริมาณไนโตรเจน และเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสและโปรตัสเซียมให้สูง เพื่อให้กล้าไม้พัฒนาทางระบบราก และมีการสะสมอาหาร กล้าไม้จะได้รับแร่ธาตุที่จำเป็นที่มีอยู่ในปุ๋ย แร่ธาตุที่จำเป็นที่ต้นกล้าจะได้รับจากการใส่ปุ๋ย แบ่งออกได้ 2 กลุ่ม อาศัยเกณฑ์ปริมาณที่พืชต้องการเป็นสำคัญ แร่ธาตุอาหารที่พืชต้องการมาก เรียกว่า แร่ธาตุอาหารหลัก หรือ Macronutrients ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน แร่ธาตุอาหารรองที่พืชต้องการน้อยหรือ Micronutrient ประกอบด้วย เหล็ก แมงกานีส โบรอน สังกะสี ทองแดง โมลิบดินัม คลอรีน
1. โรคเน่าคอดิน (Damping off) เป็นโรคพืชที่สำคัญที่ทำความเสียหายให้กับกล้าไม้มากในแต่ละปีสาเหตุจากเชื้อราเข้าทำลาย ต้นกล้าแสดงอาการเน่าที่ระดับดิน กล้าไม้จะตายอย่างรวดเร็ว พบการระบาดในกล้าไม้สมพง ยูคาลิปตัส ตุ้มเต๋น เลี่ยน กัลปพฤกษ์ ซ้อ มะค่าโมง สนสามใบ สนคาริเบียน หลุมพอ สนประดิพัทธ์ และราชพฤกษ์ เป็นต้น สภาพแวดล้อมที่ทำให้โรคระบาดคือ ดินในถุงชำหรือแปลงเพาะมีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี ดินมีความชื้นสูงเกินไป ต้นกล้าขึ้นหนาแน่นเกินไป แปลงเพาะมีเศษซากพืชมาก ทำการเพาะเมล็ดซ้ำในแปลงเดิมมากกว่า 2 ปี การป้องกันและกำจัดทำได้โดย ปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดโรค ทำการเพเมล็ดล่วงหน้าก่อนที่จะมีฝนตกหนักหรือฝนตกชุก ประมาณ 3-4 เดือน เพื่อให้กล้าไม้โตแข็งแรงพอที่จะต้านทานโรคได้ หรือใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโดยใช้ยา มาเนบ (Maneb) อัตรา 5-6 ช้อนโต๊ะ ผสมกับยาเบนเลท(Benomyl) อัตรา 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ยา ไวตาแวคส์ หรือ แซปรอล อัตรา 2-4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน จนกว่าโรคจะหาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยา ควรผสมสารจับใบลงไปด้วย กล้าไม้ที่เป็นโรคมากควรถอนและเผาทิ้ง หรือเปลี่ยนวัสดุเพาะเม็ดใหม่ 2. โรคที่เกิดกับใบพืช โรคพืชที่เกิดกับส่วนของใบกล้าไม้ที่สำคัญมีดังนี้
ชนิดกล้าไม้ | โรคที่พบ | ลักษณะของโรค | สารเคมีที่ใช้ |
---|---|---|---|
กระถินณรงค์, กระถินเทพา | โรคราแป้ง | ใบพืชจะมีลักษณะเส้นใยสีขาวคลุมผิวใบขยายลุกลามไปทั่วทั้งใบ | เบนเลท หรือ มาแนบ พ่นทุก 14 วัน |
พยุง | โรคราสนิมโรคใบจุดสีดำโรคใบจุดสีน้ำตาล | เป็นจุดสีหลืองถึงส้มกระจายตามผิวใบจุดสีดำที่ใบขนาด 1-3 มม.จุดสีน้ำตาลำที่ใบขนาด 3-5 มม. | Triadimefon-Bayleton หรือ มาแนบ/Mancozeb พ่นทุก 14 วัน |
ประดู่ | โรคใบจุดสีดำโรคใบจุดสีส้ม | จุดสีดำที่ใบขนาด 1-3 มม.จุดสีส้มที่ใบ | Triadimefon-Bayleton หรือ มาแนบ/Mancozeb พ่นทุก 14 วัน |
ยูคาลิปตัส | โรคใบจุด | จุดสีน้ำตาลำที่ใบ ทั้งหลังใบและท้องใบ | Bordeaux mixture พ่นทุก 14 วัน |
การควบคุมและป้องกันแมลงศัตรูกล้าไม้ ในเรือนชำกล้าไม้นั้น ผู้ปฏิบัติงานเพาะชำจะต้องคอยหมั่นตรวจตราดูแล เมื่อพบการทำลายจะต้องป้องกันและแก้ไขทันท่วงที หากปล่อยปละละเลยแล้ว แมลงอาจทำความเสียหายให้กับกล้าไม้จนกล้าไม้อยู่ในสภาพที่ไม่อาจฟื้นตัวเป็นกล้าไม้ที่สมบูรณ์ได้และต้องดัดทิ้งไปในที่สุด แมลงศัตรูกล้าไม้แยกประเภทได้ดังนี้ 1. ประเภทกินใบ ทำให้ใบขาดวิ่นใบปรุและม้วน ใบแหว่ง ใบโปร่งเหลือแต่เส้นใบ แมลงที่ทำให้เกิดลักษณะของใบดังกล่าว เช่น ด้วงปีกแข็ง หนอนผีเสื้อ ตั๊กแตน หนอนต่อ การป้องกันและกำจัดต้องใช้สารเคมีที่กินแล้วตายหรือถูกตัวตายที่พ่นใบกล้า เช่น เซฟวิน-85 ดิมิลิน ซูมิไซดิน เพอร์เมธริน และแอมบุช เป็นต้น 2. ประเภทชอนใบ ใบกล้าจะมีอาการใบม้วน หรือมองเห็นเป็นเส้นที่ขาว เป็นทางคดเคี้ยวบนใบแมลงพวกนี้ได้แก่ หนอนแมลงบั่ว หนอนแมลงวันบางชนิด และหนอนผีเสื้อขนาดเล็ก สารเคมีที่ใช้ป้องกันและกำจัด ควรมีคุณสมบัติในการซึมเข้าเนื้อเยื้อของพืชได้บ้าง เช่น มาลาไธออน อะโซดริน ไดเมทโธเอท ซูมิไธออน เป็นต้น 3. ประเภทกัดรากและกัดลำต้น แมลงประเภทนี้จะอาศัยอยู่ในดิน แมลงที่กัดรากกล้าไม้ได้แก่ ปลวก หนอนด้วงกัดราก แมลงที่กัดลำต้นได้แก่ หนอนกระทู้ จิ้งหลีด และด้วงงวง เป็นต้น ป้องกันได้โดยคลุกดินในถุงชำก่อนบรรจุดินใส่ถุงด้วย ยาคลอดเน เฮตาคลอ อะลามอนป ไดอะซินอน วิธีนี้ใช้กรณีที่พื้นดินเรือนชำหรือพื้นที่วางถุงชำมีแมงเหล่านี้จำนวนมาก สำหรับแปลงเพาะชำเพื่อเตรียมเหง้า เช่น แปลงเตรียมเหง้าสัก ให้ใช้ยาข้างต้นขนาด 5 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 20 ลิตรใส่บัวรดน้ำให้ทั่วแปลงปีละครั้ง 4. ประเภทดูดน้ำเลี้ยง เป็นแมลงใช้ปากดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของกล้าไม้ทำให้ต้นกล้าเหี่ยวเฉาใบด่าง เป็นแต้มเหมือนตกกระ ใบเหลือง ใบไหม้เป็นต้น แมลงเหล่านี้ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กจั่น แมลงหวี่ขาว เหลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เป็นต้น สารเคมีที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติในการดูดซึมเข้าภายในพืชได้ เช่น อะโซดริน สปาโนน เทมิค ฟูราดาน ไดเมทโธเอท ออนคอล สำหรับไรแดง ซึ่งมีตัวสีแดงคล้ายแมลงมุม ตัวเล็กมาก เคลื่อนไหวอยู่ใต้ใบ ยาที่ใช้กำจัดได้แก่ สปาโนน เคลเทน โอไมท์ เป็นต้น
- ควรมีการจัดการเรือนเพาะชำกล้าไม้ที่ดี เพื่อให้กล้าไม้แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคและแมลง เช่น คัดเลือกพันธุ์พืชที่มีความต้านทานโรคแมลง จัดสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของกล้าไม้ดูแลรักษาความสะอาดของเรือนเพาะชำ ไม่ปล่อยให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของโรคและแมลง - หากพบการทำลายแต่เพียงเล็กน้อย ควชใช้วิธีกลหรือควบคุมทางชีวภาพก่อน เช่น การจับทำลาย ล่อด้วยแสงไฟ หรือใช้เชื้อจุลินทรีย์ ใช้สารสะกัดจากธรรมชาติ เช่น สารสะกัดจากสะเดา แต่หากการระบาดรุนแรงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีได้ ควรเลือกใช้สารเคมีที่มีพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด - เลือกชนิดสารเคมีที่ใช้กับแมลงเฉพาะชนิด โดยศึกษาจากฉากกำกับยาหรือสารเคมี และ ปฏิบัติตามคำแนะนำในสลากอย่างเคร่งครัด - ผู้พ่นยาจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เช่น หน้ากาก ถุงมือ เป็นต้น - ผู้พ่นยาต้องอยู่เหนือลมเสมอ ควรพ่นเมื่ออากาศเย็น ลมสงบ ถ้ายาหกรด หรือหลังการพ่นยา ต้องรีบเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำฟอกสบู่ทันที